1. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกวด
1.1 ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้ที่กำลังศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มัธยมศึกษาตอนปลาย
1.2 ผู้สมัครเข้าร่วมการประกวดในแต่ละทีม มีจำนวน 1-2 คน
1.3 การประกวดผลงาน ไม่มีการแบ่งประกวดผลงานระหว่างผู้สมัครในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มัธยมศึกษาตอนปลาย
1.4 ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นผลงานที่ไม่ได้ลอกเลียนมาจากผลงานอื่นและไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
1.5 ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นสิ้นสุด
1.6 ผลงานที่ส่งเข้าประกวด และผลงานที่ได้รับรางวัลถือเป็นสิทธ์ของผู้เข้าประกวด
1.7 สถาบันที่ส่งผลงานเข้าประกวดอย่างน้อย 3 ผลงาน จะได้รับค่าสนับสนุนการเดินทาง
สถาบันละ 1,500 บาท
2. กำหนดการ
ลำดับ |
กิจกรรม |
กำหนดการ |
1 |
สมัครเข้าประกวด (ผู้สมัครส่งเอกสารการสมัคร) |
1 – 27 มีนาคม 2561 |
2 |
ประกาศผลผู้ผ่านเข้ารอบคัดเลือก ผ่านทาง http://cite.dpu.ac.th |
28 มีนาคม 2561 |
3 |
ทีมที่ส่งผลงานเข้าประกวด นำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการในงาน CITE PROUD ประจำปี 2561 ณ ห้องประชุม ปรีดี พนมยงค์ (อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 6) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ |
3 เมษายน 2561 |
4 |
ประกาศผลผู้ได้รับรางวัล |
3 เมษายน 2561 |
3. เกณฑ์การพิจารณาตัดสินผลงาน
การตัดสินผลงานแบ่งออกเป็น 2 รอบ ได้แก่ รอบการคัดเลือก และ รอบการตัดสิน โดยมีเกณฑ์การพิจารณาให้คะแนน ดังนี้
เกณฑ์ในการพิจารณา |
รอบคัดเลือก |
รอบสุดท้าย |
การนำความรู้ที่ได้จากการศึกษามาต่อยอดนวัตกรรม |
20 |
10 |
ระดับความใหม่ของนวัตกรรม และเทคโนโลยี |
15 |
10 |
ความสมบูรณ์ของชิ้นงาน |
15 |
10 |
ประโยชน์ในการใช้สอย |
25 |
10 |
ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ได้จริง และการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ |
25 |
10 |
รูปแบบและวิธีในการนำเสนอ |
- |
25 |
การตอบคำถาม |
- |
25 |
รวม |
100 |
100 |