โครงการพัฒนาฐานข้อมูลเกณฑ์เทียบวัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม

โครงการพัฒนาฐานข้อมูลเกณฑ์เทียบวัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ 2561

1. ที่มาและวัตถุประสงค์
             ปัจจุบันการแข่งขันภาคการผลิตอุตสาหกรรมทวีความเข้มข้นรุนแรงยิ่งขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์ ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบันนี้รวมทั้งการแข่งขันในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่มีความรุนแรงมากขึ้น ได้ก่อให้เกิดช่องว่างทางการค้าอย่างมากมาย อุตสาหกรรมในประเทศไทยจำนวนมากไม่สามารถปรับเทคโนโลยีการผลิต คุณภาพสินค้า และการปรับแผนธุรกิจให้แข่งขันกับประเทศคู่แข่งอื่น ๆ ได้  เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการในการแข่งขันให้สามารถดําเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง ปัจจัยที่สําคัญอย่าหนึ่งในการพัฒนาองค์กรคือ ความสามารถใน การวิเคราะห์และประเมินประสิทธิภาพการแข่งขันด้านโลจิสติกส์
ในยุค Thailand 4.0 “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” ที่เน้นการพัฒนา SMEs ที่มีอยู่ไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง สอดคล้องกับยุทธศาสตรชาติ 20 ปของรัฐบาล และยุทธศาสตรกับการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0  ของกระทรวงอุตสาหกรรม การพัฒนาระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนที่ดีของภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจและวัดประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่มีมาตรฐาน ถูกต้องตามหลักวิชาการ และเป็นที่ยอมรับร่วมกันในประเทศ
 
2. เป้าหมายของโครงการ 
   2.1. โรงงานอุตสาหกรรมต้นแบบสถานประกอบการอุตสาหกรรม ที่ดำเนินกิจกรรมอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทั่วประเทศไทยที่เข้าร่วมโครงการจํานวน 100 แห่ง มีความตื่นตัวในการตรวจสอบประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม (ILPI) ตัวชี้วัดประสิทธิภาพซัพพลายเชน (SCPI) และเกณฑ์ประเมินศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Scorecard) และสามารถประยุกต์ใช้การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
   2.2. โรงงานอุตสาหกรรมต้นแบบสถานประกอบการอุตสาหกรรม ที่ดำเนินกิจกรรมอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทั่วประเทศไทย ที่ผ่านการการตรวจสอบประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม (ILPI) ตัวชี้วัดประสิทธิภาพซัพพลายเชน (SCPI) และเกณฑ์ประเมินศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Scorecard) และสามารถนํามาปรับใช้ได้จริงระยะเวลาของโครงการ เริ่มตั้งแต่ กุมภาพันธ์ 2561 ถึง มิถุนายน 2561 โดยในการวินิจฉัย และให้คําปรึกษาแนะนําเชิงลึกโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ ณ สถานประกอบการ จำนวน 2 ครั้ง ในแต่ละผู้เชี่ยวชาญเข้าให้คำปรึกษาแนะนำ ครั้งละ 6 ชั่วโมง/Man-days
 
3. แนวทางในการดำเนินกิจกรรมการเข้าให้คำปรึกษาเชิงลึก ณ สถานประกอบการ
   3.1 เข้าพบผู้บริหารของสถานประกอบการเพื่อสัมภาษณ์เบื่องต้นในการตรวจสอบประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม (ILPI) ตัวชี้วัดประสิทธิภาพซัพพลายเชน (SCPI) และเกณฑ์ประเมินศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Scorecard)                
   3.2 ที่ปรึกษาจัดทำข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงสำหรับสถานประกอบการ และกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม
 
4. ผลประโยชน์ของสถานประกอบการ
   4.1. สถานประกอบการทราบประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ของสถานประกอบการ ณ ปัจจุบัน 
   4.2. สามารถกำหนดแนวทาง และวิธีการลดต้นในสถานประกอบการได้อย่างเหมาะสม เช่น การพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า, การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง, การลดต้นทุนโลจิสติกสยอนกลับ เป็นต้น 
  4.3. สถานประกอบการสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจในยุคอุตสาหกรรม 4.0  
 

ดาวน์โหลดใบสมัคร