หลักสูตรวิศวกรรมโลจิสติกส์

Logistics Engineering

วิศวกรรมโลจิสติกส์

ข้อมูลทั่วไป

  • ภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
    วิศวกรรมโลจิสติกส์)
  • ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering (Logistics Engineering)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

  • หลักสูตร 4 ปี (ภาคปกติ) มี จำนวน 128 หน่วยกิต
  • หลักสูตร 4 ปี (ภาคพิเศษ เรียนเสาร์-อาทิตย์) มี จำนวน 128 หน่วยกิต
  • หลักสูตร 3 ปี (ภาคปกติ) มี จำนวน 98 หน่วยกิต
  • หลักสูตร 3 ปี (ภาคพิเศษ เรียนเฉพาะวันอาทิตย์) มี จำนวน 98 หน่วยกิต
  • สามารถกู้ยื่มกองทุน กรอ. และกยศ. ได้ พร้อมรับสิทธิ 
    Human Capital ลดเงินต้น 30%

วิศวกรรมโลจิสติกส์ เปิดรับนักเรียน นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในระบบ ม.6 ปวช. ทุกสาขาวิชา ในภาคปกติ หลักสูตร 4 ปี ในหลักสูตร 4 ปี ภาคพิเศษ เรียนเสาร์-อาทิตย์ และ ปวส. ในหลักสูตรเทียบโอนภาคปกติ 3 ปี และภาคพิเศษ เรียนเฉพาะวันอาทิตย์ เข้าศึกษาต่อในระบดับปริญญาตรี สามารถกู้ กรอ. และกยศ. ได้ (สำหรับผู้กู้รายเก่ามอบตัวไม่ต้องสำรองจ่าย ผู้กู้รายใหม่มอบตัวชำระ 2,000 บาท นักศึกษาที่ไม่ประสงค์จะกู้กรอ และกยศ. มอบตัว 10,000 บาท ส่วนต่างสามารถผ่อนจ่ายได้ 3 งวด)

ทำไมต้องวิศวกรรมโลจิสติกส์

วิศวะ “โลจิสติกส์” ที่นี่เรามุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งด้านการขนส่ง และการกระจายสินค้าทั่วโลกตลอดจน การออกแบบและปรับปรุงกระบวนการผลิต ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ความรู้ทางด้านการผลิต Supply Chain ระบบสารสนเทศ ERP ความรู้พื้นฐานด้านการบัญชี การสร้างนวัตกรนำความสำเร็จสู่ภาคธุรกิจยุค 4.0 เราพร้อมดูแล เพื่อให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทุกคนก้าวไปเป็นวิศวกรที่มีคุณภาพมีความเชี่ยวชาญระดับสากล เพื่อผลักดันธุรกิจ และพัฒนาประเทศชาติ โดยบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถศึกษาต่อ ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ด้านวิศวกรรมการจัดการ วิศวกรรมโลจิสติกส์ วิศวกรรมอุตสาหการบริหารธุรกิจสาขาต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

วิศวะ “โลจิสติกส์”

 

 

ที่นี่โลจิสติกส์ไม่ใช่แค่การขนขนส่งแต่เป็นการวิเคราะห์ และแก้ปัญหาทั้งกระบวนการในอุตสาหกรรม

เรียนกับตัวจริง ผู้เชียวชาญด้านโลจิสติกส์

“ไม่ใช่เรียนแค่ในตำรา แต่ที่นี่เราเรียนรู้ในการออกแบบ และแก้ปัญหาจริงในงานโลจิสติกส์ และการผลิตในภาคอุตสาหกรรม” จากประสบการณ์คณาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษาด้านโลจิสติกส์ และซัพพลายเชนกว่า 200 โรงงานชั้นนำทั่วประเทศ บรูณาการณ์ความรู้และประสบการณ์ ด้านโลจิสติกส์ การขนส่งและกระจายสินค้า การจัดการด้านการผลิต และเทคโนโลยีในอนาคตสำหรังานโลจิสติกส์ เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญด้านงานโลจิสติกส์ พร้อมเป็น Coach เพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรด้านโลจิสติกส์ที่ขาดแคลนเป็นจำนวนมาก สายงานด้านโลจิสติกส์ยังมี Career Path (เส้นทางอาชีพ) ที่ก้าวหน้าสามารถเติบโตในสายงาน ไม่ว่าจะเป็นอาชีพรับราชการ บริษัทเอกชน วิศวกร งานด้านการผลิต งานด้านบริหารจัดการการขนส่ง และคลังสินค้า “วิศวกรรมโลจิสติกส์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ เราพร้อม Coach ให้คุณก้าวออกไปเป็นบุคลากรด้านโลจิสติกส์ที่มีคุณภาพ พร้อมทำงานจริงและมีอนาคตที่ดี”





วิศวกรรมโลจิสติกส์ (Human Captical)
กองทุนกู้ยืม
ค่าหน่วยกิต
ค่าเล่าเรียนต่อเทอม
ค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร
ภาคปกติ (เรียน จันทร์ - ศุกร์)

หลักสูตร 4 ปี 

กยศ.

เหมาจ่าย

43,000

354,000

หลักสูตร เทียนโอน 3 ปี 

กยศ.

เหมาจ่าย

43,000

268,000

ภาคพิเศษ (เรียน เสาร์ - อาทิตย์)

หลักสูตร 4 ปี (เรียนเสาร์ - อาทิตย์) 

กยศ.

เหมาจ่าย

35,000

340,000

หลักสูตร เทียนโอน 2.5 ปี*  (เรียนเฉพาะวันอาทิตย์) 

กยศ.

เหมาจ่าย

35,000

255,000

การชำระเงินลงทะเบียน
ผู้ชำระเงินสด งวดแรกชำระ 10,000 บาท ในวันลงทะเบียน ส่วนที่เหลือสามารถแบ่งชำระได้
ผู้กู้กองทุนกู้ยืม ชำระ 2,000 บาท ในวันลงทะเบียน ไม่ต้องสำรองจ่ายค่าเทอมส่วนต่าง

Human Capital* คือ สาขาที่ร่วมโครงการส่งเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์ สำหรับ ผู้กู้ กยศ. รับเงื่อนไขพิเศษ 2 ข้อเมื่อจบการศึกษา ข้อที่ 1 ลดเงินต้น 30% (ค่าเทอม ปีการศึกษาละ 70,000 บาท และค่าใช้จ่ายรายเดือนๆละ 3,000 บาท) ข้อที่ 2 ลดดอกเบี้ย 0.5% ต่อปี (จากปกติ 1% ต่อปี
 
 
 
 

เพราะดีกว่า... เลยกล้าพูด

  1. เพราะโลจิสติกส์ ไม่ใช่แค่เรื่องของการขนส่ง "วิศวกรรมโลจิสติกส์ DPU" บรูณาการความรู้ทางด้าน โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การจัดการ การผลิต การบริหาร เทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมอัดแน่น 4 ทักษะที่สำคัญในสายงานโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน 
    ✅ ทักษะด้านการจัดการโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน  -> เริ่มตั้งแต่การกำหนดกลยุทธ์โลจิสติกส์ให้แก่องค์กร  การจัดการสินค้าคงคลัง การออกแบบคลังสินค้า การจัดซื้อจัดหา การบริหารโครงการ การนำเข้า และการส่งออก
    ✅ ทักษะด้านการผลิต -> การวางแผนการผลิต การจัดตารางการผลิต การควบคุมคุณภาพในการผลิต ลีนโลจิสติกส์ การออกแบบโรงงาน
    ✅ ทักษาด้านการขนส่ง และการกระจายสินค้า ->การจัดเส้นทางการขนส่ง โปรแกรมจำลองการขนส่ง การเลือกทำเลที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้า 
    ✅ ทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูล และเทคโนโลยี -> การวิเคราะห์ข้อมูลด้านโลจิสติกส์  การวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ การออกแบบระบบอัตโนมัติสร้างแบบจำลอง
  2. "Move the World" เนื้อหาการเรียนการสอนและความร่วมมือกับบริษัทภายนอกในการพัฒนานักศึกษาให้มีศักยภาพด้านการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการระหว่างประเทศ และทั่วโลก โดยมีประสิทธิภาพ และต้นทุนที่ต่ำ จากคณาจารย์ผู้เชียวชาญ และวิทยากรจากภายนอก ได้แก่ บริษัท ไอ อาร์ พี ซี จำกัด(มหาชน) นักวิชาการจากกรมศุลกากร ร่วมถึงความร่วมมือในการรับนักศึกษาฝึกงานจาก บริษัท วีพรอมท์ จำกัด ผู้ให้บริการขนส่งทางทะเล
  3. "มากกว่าการจัดการโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน" ฝึกทักษะการวิเคราะห์ปัญหา และเทคนิคการลดต้นทุน จากการเรียนรู้ปัญหาจริงที่พบในอุตสาหกรรมการผลิต และการบริการ จากคณาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาให้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และกรมโรงงานอุตสาหกรรม"
  4. "ตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ในภาคอุตสาหกรรม" ในปี 2561 ได้รับความไว้วางใจจาก กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในการจัดทำตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ในภาคอุตสาหกรรม พร้อมกับจัดทำระบบการประมวลผล
  5. จัดเต็มด้วยวิชาด้านโลจิสติกส์ด้วยซัพพลายเชน วิชาเรียนเกี่ยวกับสายงานด้านโลจิสติกส์ 92 หน่วยกิต จาก 128 หน่วยกิต ความรู้ที่ครอบคลุมทั้งซัพพลายเชน ทำให้สามารถทำงานได้หลากหลายตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายผลิต ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายวางแผนการผลิต ฝ่ายขนส่งและกระจ่ายสินค้า รวมถึงนำเข้า-ส่งออก ซึ่งบางตำแหน่ง รวมถึงตำแหน่งทางราชการบางสายงานที่รับเฉพาะวุฒิการศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หรือ วิทยาศาสตรบัณฑิตย

5 อาชีพมาแรงสายงานด้านโลจิสติกส์