“ลดต้นทุนโลจิสติกส์ มองเห็นอนาคตด้วย ILPI” สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร โดยใช้เครื่องมือตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม (Industrial Logistics Performance Index: ILPI) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพขององค์กร และกำหนดวิธีการในพัฒนาได้อย่างตรงจุด...โครงการพัฒนาฐานข้อมูลเกณฑ์เทียบวัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม (ILPI) ตัวชี้วัดประสิทธิภาพซัพพลายเชน กระบวนการต่างๆ ครอบคลุม 9 กิจกรรมโลจิสติกส์ ได้แก่
1.การให้บริการแก่ลูกค้าและกิจกรรมสนับสนุน (Customer Service and Support)
2.การจัดซื้อจัดหา (Purchasing and Procurement)
3.การสื่อสารด้านโลจิสติกส์และกระบวนการสั่งซื้อ (Logistics Communication and Order Processing) 4.การขนส่ง (Transportation)
5.การเลือกสถานที่ตั้งของโรงงานและคลังสินค้า (Facilities Site Selection, Warehousing and Storage) 6.การวางแผนหรือการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า (Demand Forecasting and Planning)
7.การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management)
8.การจัดการ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ การบรรจุหีบห่อ (Materials Handling and Packaging)
9.โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics)
โดยการประเมินจะตัวชี้วัดทั้ง 3 มิติ ได้แก่ 1 ต้นทุน 2 เวลา และ3 ความน่าเชื่อถือ รวมตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ ภาคอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 27 ตัวชี้วัด
ผลประโยชน์ของสถานประกอบการจะได้รับ
1. สถานประกอบการทราบประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ของสถานประกอบการ ณ ปัจจุบัน
2. สามารถกำหนดแนวทาง และวิธีการลดต้นในสถานประกอบการได้อย่างเหมาะสม เช่น การพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า, การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง, การลดต้นทุนโลจิสติกส์ย้อนกลับ เป็นต้น
3. สถานประกอบการสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจในยุคอุตสาหกรรม 4.0
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 0846424983