รายวิชาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

วิชาปรับพื้นฐาน 2  รายวิชา (ไม่นับหน่วยกิต) ประเมินผลการเรียนเป็น S หรือ U
รหัส
Code
วิชา
Course
หน่วยกิต
Credit
EM501
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทางวิศวกรรม
(Introduction to Engineering) 
หลักการและทฤษฎีพื้นฐานทางวิศวกรรม วัสดุวิศวกรรม  อุณหพลศาสตร์  การถ่ายเทความร้อน และกลศาสตร์ของไหล เศรษฐศาสตร์วิศวกรรมเบื้องต้นและกรรมวิธีการผลิต  
- (3-0-9)
สำหรับผู้ที่ไม่มีวุฒิด้านวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต *
LA500  
ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา  
(English for Graduate Studies)
ศัพท์สำนวนและโครงสร้างในตัวบททางวิชาการ ทักษะการอ่านและการฟังเพื่อการย่อความจากข้อความในสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทางวิชาการ ทักษะเบื้องต้นในการนำเสนอทางวิชาการ
- (3-0-9)
วิชาบังคับ 4 รายวิชา
EM601 
หลักการจัดการทางวิศวกรรม       
(Principle of Engineering Management)   
 หลักการจัดการทางวิศวกรรมการจัดการในระบบการผลิตและบริการ รวมถึงระบบโลจิสติกส์อันประกอบไปด้วยการจัดการอุปสงค์ การเพิ่มผลิตภาพ การวางแผนความต้องการวัสดุการผลิตแบบ Lean แบบจำลองการจัดการสินค้าคงคลังและกระจายสินค้าเบื้องต้น การจัดการระบบ Enterprise Resource Planning  เบื้องต้น การจัดการเชิงกลยุทธ์ของการตลาดแบบบูรณาการ การออกแบบ การเงิน การผลิตและการจัดจำหน่าย 
3(3-0-9)
EM602 
การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ 
(Project Feasibility Studies)   
 เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม มูลค่าของเงินปัจจุบันสุทธิ การวิเคราะห์ผลตอบแทนภายในของโครงการ การหาระยะคืนทุน การหาจุดคุ้มทุน  งบกระแสเงินสด  การวิเคราะห์การตลาด  การวิเคราะห์ทางวิศวกรรม การวิเคราะห์การบริหาร การวิเคราะห์การเงิน การวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ความไวของโครงการ และการวิเคราะห์ความเสี่ยง  
3(3-0-9)
EM604
การจัดการโครงการ 
(Project Management)
การวางแผนโครงการ ชนิดของโครงการต่างๆ เช่นโครงการอสังหาริมทรัพย์ โครงการธุรกิจอุตสาหกรรมเป็นต้น การติดตามโครงการโดยใช้เครื่องมือ CPM, PERT, Gantt Chart การควบคุมค่าใช้จ่ายของโครงการ วัฏจักรของโครงการ การคัดเลือกโครงการ การสื่อสารและประสานงานโครงการ การควบคุมโครงการ การประเมินผลโครงการ การรายงานผลโครงการ การจัดพนักงาน การจูงใจ การมอบหมายการใช้อำนาจ การจัดการความขัดแย้ง การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อบริหารโครงการ และกรณีศึกษาการจัดการโครงการ
3(3-0-9)
EM616 
ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการทางวิศวกรรม  
(Research Methodology in Engineering Management)
การอ่านและทำความเข้าใจบทความทางวิชาการ วิธีค้นคว้าหาความรู้ใหม่อย่างเป็นระบบ  การคิดตั้งปัญหา การวิเคราะห์ การคิดค้นหาคำตอบ การทดสอบหรือการทดลอง การพิสูจน์ผลของคำตอบในปัญหางานวิจัย การเขียนวิทยานิพนธ์ และการนำเสนอผลงานวิจัย
3(3-0-9)
วิชาเลือก
 
แผน ก (แบบ ก 2) เลือกเรียนจากกลุ่มวิชาเลือกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง 3 รายวิชา 9 หน่วยกิต และเลือกเรียนอีก 1 รายวิชา 3 หน่วยกิต จากกลุ่มวิชาเลือก หรือจากวิชาเลือกในระดับบัณฑิตศึกษาของวิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์
 
 
แผน ข เลือกเรียนจากกลุ่มวิชาเลือกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง 4 รายวิชา 12 หน่วยกิต และเลือกเรียนอีก 2 รายวิชา 6 หน่วยกิต จากกลุ่มวิชาเลือก หรือจากวิชาเลือกในระดับบัณฑิตศึกษาของวิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์
 
กลุ่มวิชาเลือกจัดเป็น 3 กลุ่ม
1. กลุ่มการจัดการการผลิตและเทคโนโลยี
EM621
การจัดการผลิตและการดำเนินการ
(Production and Operations Management)
ความสัมพันธ์ของกลยุทธ์ทางธุรกิจและกลยุทธ์การดำเนินงาน แนวความคิดและความสำคัญของการจัดการการผลิต แผนการในการดำเนินงานของธุรกิจ ปัจจัยของการบริหารการดำเนินงานในโรงงานอุตสาหกรรมและเทคนิคการเลือกใช้เทคโนโลยีในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ความสัมพันธ์ระหว่างการผลิตกับองค์ประกอบของการดำเนินธุรกิจ ระบบการผลิต การพยากรณ์และการวางแผนการผลิต การขนถ่ายวัตถุดิบ  การเลือกทำเลที่ตั้ง การจัดการและการดำเนินงานการผลิตสมัยใหม่  คอมพิวเตอร์ช่วยการออกแบบและการผลิต (CAD /CAM) และการวิเคราะห์กรณีศึกษา
3(3-0-9)
EM622
วิศวกรรมอุตสาหกรรมและระบบ
(Industrial and System Engineering)    
ความสัมพันธ์ของกลยุทธ์ทางธุรกิจและกลยุทธ์การดำเนินงาน แนวความคิดและความสำคัญของการจัดการการผลิต แผนการในการดำเนินงานของธุรกิจ ปัจจัยของการบริหารการดำเนินงานในโรงงานอุตสาหกรรมและเทคนิคการเลือกใช้เทคโนโลยีในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ความสัมพันธ์ระหว่างการผลิตกับองค์ประกอบของการดำเนินธุรกิจ ระบบการผลิต การพยากรณ์และการวางแผนการผลิต การขนถ่ายวัตถุดิบ  การเลือกทำเลที่ตั้ง การจัดการและการดำเนินงานการผลิตสมัยใหม่  คอมพิวเตอร์ช่วยการออกแบบและการผลิต (CAD /CAM) และการวิเคราะห์กรณีศึกษา
3(3-0-9)
EM626 
การบริหารระบบบำรุงรักษาและความน่าเชื่อถือ                 
(Maintenance and Reliability Management)   
 ทฤษฎีความน่าจะเป็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาความน่าเชื่อถือ หลักการของความน่าเชื่อถือ คุณลักษณะของความน่าเชื่อถือ การวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ของความน่าเชื่อถือ อัตราการชำรุด การทดสอบความน่าเชื่อถือ ระบบการบำรุงรักษาและกลยุทธ์การบำรุงรักษา ความสามารถในการบำรุงรักษาและการจัดตั้ง การบำรุงรักษาระบบแบบแก้ไขและป้องกัน การวิเคราะห์กรณีศึกษา
3(3-0-9)
EM627 
การออกแบบการทดลองเชิงวิศวกรรม                                  
(Design of Engineering Experiment)
การประยุกต์การออกแบบการทดลองกับงานวิศวกรรม หลักการสำคัญของการออกแบบการทดลอง การเลือกปัจจัยสำหรับการทดลอง การกำหนดขนาดตัวอย่าง การทดสอบสมมติฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและสองทาง การออกแบบการทดลองแบบแฟ็คทอเรียล การออกแบบการทดลองแบบ 2k การออกแบบการทดลองแบบแฟ็คทอเรียลบางส่วน การหาค่าเหมาะสมของกระบวนการโดยวิธีการพื้นผิวตอบสนอง และการวิเคราะห์กรณีศึกษา
3(3-0-9)
EM629
เทคนิคการจำลองสถานการณ์
(Simulation Techniques)
เทคนิคการจำลองสถานการณ์ การสร้างตัวเลขสุ่ม การทดสอบตัวเลขสุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล การจำลองสถานการณ์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การประยุกต์ใช้กับปัญหาทางอุตสาหกรรม
3(3-0-9)
EM630
วิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อการปรับปรุงคุณภาพในอุตสาหกรรม   
(Data Science for Industrial Quality Improvement)
การใช้เครื่องมือและเทคนิคในการจัดการวัดคุณภาพ สถิติและความน่าจะเป็น การวิเคราะห์ความผันแปรของกระบวนการ  การควบคุมกระบวนการทางสถิติ การวิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการของผลิตภัณฑ์ และระบบการวัด  วิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการเพื่อให้ตรงตามข้อกำหนดของลูกค้า  การสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบการทดลอง (DOE) การปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพ การประเมินโอกาสและปัญหาของกระบวนการ
3(3-0-9)
EM671
หัวข้อพิเศษทางการจัดการทางวิศวกรรม       
(Special Topics on Engineering Management)       
หัวข้อที่น่าสนใจและทันเหตุการณ์ ในด้านงานวิจัยหรือการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการทางวิศวกรรม ในสาขาต่างๆ เช่น การผลิตและเทตโนโลยี โลจิสติกส์และโซ่อุปทานทรัพยากรอาคารและพลังงาน
3(3-0-9)
2. กลุ่มการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
EM631
การจัดการโลจีสติกส์และโซ่อุปทาน
(Logistics and Supply Chain Management)
การจัดการโลจิสติกส์ในระบบบูรณาการ  ความสำคัญของปฏิบัติการโลจิสติกส์ต่อองค์การธุรกิจ ธุรกิจการให้บริการโลจิสติกส์ โลจิสติกส์ย้อนกลับ โลจิสติกส์ระหว่างประเทศ การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายของกิจกรรมโลจิสติกส์เพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ การวัดผลปฏิบัติการโลจิสติกส์ในองค์การธุรกิจ การจัดโครงสร้างองค์การเพื่อการจัดการโลจิสติกส์ การจัดการโซ่อุปทาน ตัวอย่างกรณีศึกษา
3(3-0-9)
EM632
การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร
(Enterprise Resource Planning)
องค์ประกอบของระบบ ERP ระบบการวางแผนและควบคุมการผลิต ระบบการควบคุมการจัดจำหน่าย ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบต้นทุนการผลิต ระบบทางบัญชีและการเงิน ระบบบัญชีบริหาร การออกแบบระบบERP การนำระบบERPมาใช้ในองค์กร  การบำรุงรักษาระบบERP และการวิเคราะห์กรณีศึกษา
3(3-0-9)
EM633
การบริหารสินค้าคงคลังในงานอุตสาหกรรม
(Industrial Inventory Management)     
แนวคิด ทฤษฎี รูปแบบ และประเภทของคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง และผู้ให้บริการด้านการกระจายสินค้า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง หน่วยงานรับผิดชอบเรื่องคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ การวางแผนและการจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลังเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3(3-0-9)
EM634
การจัดการระบบขนส่งและการกระจายสินค้า
(Transportation and Distribution Management) 
บทบาทของการขนส่งและการกระจายสินค้าที่มีต่อเศรษฐกิจ องค์ประกอบของระบบการขนส่ง รูปแบบการขนส่ง และประเภทของผู้ประกอบการขนส่ง ข้อพิจารณาทางเศรษฐกิจและการบริการของรูปแบบการขนส่งแบบต่างๆ การเลือกผู้ประกอบการขนส่ง การเลือกเส้นทางและตารางการขนส่ง การวางแผนใช้เวลาในการขนส่ง ตัวแบบสำหรับเครือข่ายการขนส่ง ปัญหาการจัดเส้นทางการขนส่ง การแก้ปัญหาโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การพิจารณาความเหมาะสมของต้นทุนค่าขนส่ง  การติดตามอัตราค่าระวางการขนส่งสินค้า กระบวนการร้องเรียนเมื่อเกิดความเสียหาย และบทบาทของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ตามสัญญา      
3(3-0-9)
EM635
เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
(Information Technology for Logistics and Supply Chain)
การออกแบบและการวางแผนนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการตัดสินใจ การคำนวณต้นทุนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในโซ่อุปทานและโลจิสติกส์  การวางแผนทรัพยากรในองค์กร  การวางแผนระบบCRM  การพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3(3-0-9)
EM638
ตัวแบบการตัดสินใจสำหรับการจัดการโซ่อุปทาน
Decision Models for Supply Chain Management 
วิธีการสร้างแบบจำลองที่ใช้ในการตัดสินใจสำหรับการจัดการโซ่อุปทาน   การตัดสินใจที่มีเกณฑ์การติดสินใจเชิงเดี่ยวและการตัดสินใจพหุเกณฑ์ วิธีหาคำตอบที่ดีที่สุดหรือวิธีออพติไมเซชั่น วิธีจำลองแบบปัญหา บทบาทและความสำคัญของการจำลองแบบปัญหาสำหรับการจัดการโซ่อุปทาน เทคนิคและหลักการของการจำลองแบบปัญหา การจำลองแบบปัญหาด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิธีมอนติ-คาร์โล การวิเคราะห์ข้อมูลนำเข้าและผลลัพธ์ที่ได้จากการจำลองแบบปัญหา และการวิเคราะห์กรณีศึกษา
3(3-0-9)
3. กลุ่มการจัดการทรัพยากรอาคารและพลังงาน
EM643
การจัดการระบบไฟฟ้า เครื่องกลและพลังงานในอาคาร
(Electrical, Mechanical and Energy Management in Buildings)
ระบบไฟฟ้าในอาคาร อุปกรณ์ต่าง ๆ ทางไฟฟ้าภายในอาคารและภายนอกอาคาร ระบบส่องสว่าง ระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ ระบบระบายอากาศ ระบบควบคุมควัน ระบบปรับอากาศ ระบบลิฟต์และบันไดเลื่อน พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน การอนุรักษ์และการสร้างจิตสำนึกด้านพลังงาน การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานในอาคารและการจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนในอาคาร
3(3-0-9)
EM644
การตรวจสอบอาคาร
(Building Inspection)    
การตรวจสอบอาคารตามหลักสูตรของกรมโยธาธิการและผังเมืองพระราชบัญญัติควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม หลักการและแนวทางการตรวจสอบอาคาร และอุปกรณ์ประกอบอาคาร การตรวจสอบระบบอำนวยความสะดวกและระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย แนวทางการตรวจสอบตามมาตรฐานอาคารเขียวรวมถึงมีภาคปฏิบัติจริงที่มุ่งเน้นการตรวจสอบสภาพอาคารและระบบความปลอดภัย การวิเคราะห์ข้อมูลและการสรุปผลการตรวจสอบ
3(3-0-9)
EM648
การจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับอาคาร
(Environmental Management for Buildings)
การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมสำหรับอาคาร กฎหมายสิ่งแวดล้อมสำหรับอาคาร เทคโนโลยีสะอาด ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม การตรวจสอบและประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับอาคาร  สุขภาพของผู้ใช้อาคาร คุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในอาคารและความสะดวกสบายเชิงความร้อน วัฎจักรวงจรชีวิตของอาคาร
3(3-0-9)
EM650
เทคโนโลยีแบบบูรณาการสำหรับอาคารประสิทธิภาพสูง
(Integrated Technology for High-performance Buildings)
สถาปัตยกรรมและอาคาร นิยามและแนวคิดของอาคารที่มีสมรรถนะสูง งานระบบอาคารกับการออกแบบอาคาร การวิเคราะห์สมรรถนะของอาคารและมาตรฐานอาคารแบบต่าง ๆ เทคโนโลยีแบบบูรณาการและเทคนิคการวิเคราะห์เพื่อสิ่งแวดล้อมในอาคารที่ดีและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การออกแบบและการปรับปรุงอาคารโดยวิธีทางธรรมชาติและโดยการใช้เครื่องกล การบูรณาการเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนเข้ากับอาคาร
3(3-0-9)
EM659
แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของอาคาร   
(Computer Simulations for Building Environmental Analysis)
พฤติกรรมทางความร้อนของกรอบอาคาร การถ่ายเทความร้อน การระบายอากาศ และการให้แสงสว่างในอาคาร การจำลองระบบพลังงานและสมรรถนะการใช้พลังงานในอาคาร การใช้แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของสภาพแวดล้อมของอาคาร
3(3-0-9)
EM660 
ปัญญาประดิษฐ์ อาคารและพลังงาน       
(Artificial Intelligence, Building and Energy)
แนวคิดและรูปแบบของปัญญาประดิษฐ์ ซอฟต์แวร์และเครื่องมือของปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่องสำหรับอาคารและระบบพลังงาน การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่องสำหรับการจัดการสมรรถนะต่างๆ ของอาคารและการวางแผนพลังาน
3(3-0-9)
วิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์
EM710
วิทยานิพนธ์ 
(Thesis)       
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งด้านการจัดการทางวิศวกรรม เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงองค์ความรู้ใหม่ภายใต้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษา มีการนำเสนอหัวข้อวิจัยที่แสดงวัตถุประสงค์ ขั้นตอน และวิธีดำเนินการวิจัย รายงานความก้าวหน้า และสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และเขียนเป็นรายงานในรูปวิทยานิพนธ์         
12หน่วยกิต
EM703
สารนิพนธ์
(Thematic Paper)
การศึกษาค้นคว้าเฉพาะด้านเกี่ยวกับการจัดการทางวิศวกรรม เพื่อวิเคราะห์หรือแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการทางวิศวกรรม ภายใต้ความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา การนำเสนอหัวข้อศึกษาที่แสดงวัตถุประสงค์ ขั้นตอน และวิธีดำเนินการศึกษา ทำรายงานศึกษาค้นคว้าฉบับสมบูรณ์ในรูปแบบสารนิพนธ์
6 หน่วยกิต