พัฒนาวิศวกรด้านวิศวกรรมให้ตอบโจทย์วิชาชีพ

และทันต่อการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัล

ทำไมถึงน่าเรียน ?

หลักสูตรเรียนวันอาทิตย์วันเดียว เนื้อหารายวิชามีความน่าสนใจทันสมัย เน้นปฏิบัติ
หลักสูตรมีเนื้อหาทางด้านเทคโนโลยีต่างๆที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน เช่น

Internet Engineering

Computer Network, Software Defined Network, 4G/5G, MPLS

IoT & Cloud computing

IoT, Cloud Computing, VM / Docker, AWS, Kubernetes

Network Security

Network Security, Penetration Testing, Hardening, Blockchain, Crypto

ต่อภาคการศึกษา
สามารถแบ่งผ่อนชำระเงิน ได้ 3 งวด / ภาคการศึกษา

32,500 บาท

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ

195,000 บาท

หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร ?

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี โดย

  • มีคุณวุฒิด้านวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หรือ อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต หรือ ครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต หรือ วิทยาศาสตรบัณฑิต
  • มีคุณวุฒิอื่นๆ ที่มิได้ระบุในข้อแรก แต่มีประสบการณ์ทำงานด้านระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม สารสนเทศ หรือที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ต่อยอดสายงาน
อะไรได้บ้าง ?


 

วิศวกร อาจารย์ ผู้ปฏิบัติงาน

ด้านการออกแบบ ดูแล แก้ไขปัญหาต่างๆ

ของโครงข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

โครงข่ายไร้สาย การรักษาความมั่นคง

ทางคอมพิวเตอร์ การประมวลผลสมัยใหม่

ด้วยเทคโนโลยีคลาวด์

ศิษย์เก่า-ปัจจุบัน ที่มีชื่อเสียง

  1. มีวิชาปรับพื้นฐาน 2 วิชา เพื่อเตรียมความพร้อมและปูพื้นให้นักศึกษาที่ไม่ได้จบตรงสาย
  2. หลักสูตรมีให้เลือกแผนการเรียนได้ (แผน ก2 วิทยานิพนธ์ / แผน ข สารนิพนธ์)
    • สำหรับแผน ก2 มีเรียนวิชาบังคับจำนวน 6 วิชา วิชาเลือกจำนวน 2 วิชา วิชาสัมมนาจำนวน 3 วิชา(ไม่นับหน่วยกิต) และ วิทยานิพนธ์จำนวน 4 วิชา
    • สำหรับแผน ข มีเรียนวิชาบังคับจำนวน 6 วิชา วิชาเลือกจำนวน 5 วิชา วิชาสัมมนาจำนวน 3 วิชา(ไม่นับหน่วยกิต) และ สารนิพนธ์จำนวน 1 วิชา
  • ชื่อเต็ม (ไทย) : วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
    ชื่อย่อ (ไทย) : วศ.ม. (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
    ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Master of Engineering (Computer Engineering)
    ชื่อย่อ (อังกฤษ) : M.Eng. (Computer Engineering)
  • รับปริญญาตรี ทุกสาขา แต่มีประสบการณ์ทำงานด้านระบบคอมพิวเตอร์
หลักสูตร 2 ปี โดยจัดการศึกษาเป็นแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาประกอบด้วย ภาคการศึกษาปกติ 2 ภาค คือภาคต้น และภาคปลาย
  • ระยะเวลาเรียนแต่ละภาค 15 สัปดาห์
  • การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน มีระยะเวลาเรียนประมาณ 8 สัปดาห์
  • เรียนเฉพาะวันอาทิตย์
    หมายเหตุ สำหรับผู้ที่ต้องเรียนปรับพื้นฐานทั้ง 2 วิชาในภาคการศึกษาที่ 1 ของปีแรก อาจจัดให้มีเรียนวันเสาร์เพิ่มอีก 3 ชม. หากไม่สามารถจัดให้เรียนได้ภายในวันเดียว
ค่าเทอมเหมาจ่ายต่อภาคการศึกษา 32,500 บาท
  • ตลอดหลักสูตร 195,000 บาท
  • ค่ามอบตัว 10,000 บาท (ค่ามอบตัว จะนำไปหักในค่าเทอม เทอม 1 หลังจากมีการ ลงทะเบียนเรียนแล้ว)
    **ค่าเทอมสามารถแบ่งชำระ ได้ 3 งวด ต่อภาคการศึกษา
สามารถสมัครเรียน ได้ทาง online จาก https://www.dpu.ac.th/applygrad/ และปฎิบัติตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
  • กรอกข้อความในแบบฟอร์มให้ครบถ้วนชัดเจน
  • ปริ๊นเอกสารยืนยันการสมัคร เก็บไว้เป็นหลักฐาน
  • รอทางมหาวิทยาลัยติดต่อกลับเพื่อนัดหมายวันสอบกับท่านอีกครั้ง
การสมัครและค่าธรรมเนียม
  • ยื่นใบสมัครพร้อมหลักฐานการสมัคร และชำระค่าสมัครสอบที่ สำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในช่วงเวลาทำการ คือ วันอังคาร - วันเสาร์ เวลา 10.30 - 18.30 น. (ยกเว้น วันหยุดนักขัตฤกษ์)
    ***ค่าธรรมเนียมในการสมัครเรียนคนละ 500 บาท
  1. ใบสมัครที่กรอกข้อมูลแล้ว
  2. รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกและไม่ใส่แว่นดำ ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 4 รูป
  3. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ หรือชื่อสกุล (หากมีการเปลี่ยนชื่อ และ/หรือ ชื่อสกุล)
  4. สำเนาใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จำนวน 1 ชุด
  5. สำหรับผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี ต้องนำสำเนาใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) ระดับอนุปริญญา ปวส. หรือ ปวท. มาด้วย 1 ชุด
  6. ในกรณีนักศึกษาปีสุดท้ายของหลักสูตรปริญญาตรีให้ใช้หนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษา และสำเนาใบแสดงผลการศึกษา เพื่อยืนยันว่ากำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีจริง
  • กุลธรา อานนท์ (แวว)
    • เบอร์ตรง 02-9549731
    • เบอร์ภายใน 02-9547300 ต่อ 601
    • เบอร์โทรศัพท์ 085-1278946