Computer Engineering Ph.D


สาขาวิชาวิศวกรรรมคอมพิวเตอร์มีแนวทางวิจัยทั้งที่ได้วิจัยสำเร็จแล้วและกำลังดำเนินการวิจัยอยู่ดังต่อไปนี้

  • กรอบกระบวนการความมั่นคงสำหรับธุรกรรมธนาคารแบบเปิด
    Security Frameworks for Open Banking Transactions

    เพื่อพัฒนาและวิจัย การสร้างกรอบการทำงานที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งการ ตรวจสอบยืนยันตัวตน การจัดเก็บและใช้งานข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ รองรับการใช้งานธุรกรรมธนาคารบนโทรศัพท์มือถือ และธุรกรรมธนาคารแบบเปิด ซึ่งมีแนวโน้มถูกใช้งานอย่างมากในอนาคต 
  • การเพิ่มประสิทธิภาพของขั้นตอนวิธีพันธุกรรมเพื่อการจัดสรรทรัพยากร
    Genetic Alggorithm Improvement for Resource Allocation
    สร้างขั้นตอนวิธีแบบพันธุกรรมที่สามารถลดความซับซ้อนในการประมวลผล และคัดเลือกผลลัพธ์ที่มีได้หลายรูปแบบ ช่วยลดเวลาในการประมวลผล ซึ่งปกติต้องใช้เวลานานมากให้ลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ
  • การกำหนดเส้นทางจ่ายไฟฟ้าแบบพลวัตรที่ดีที่สุดในระบบสมาร์ทกริดแบบทันกาล
    Dynamically and Optimally Realtime Power Feeder for Smart-Grid System
    ศึกษาวิธีการกำหนดเส้นทางจ่ายไฟฟ้าในระบบสมาร์ทกริดที่มีการศึกษาพบว่าใช้เวลาในการตัดสินใจนาน ซึ่งไม่อาจทันต่อการเปลี่ยนแปลงภาระกำลังไฟฟ้าของระบบจ่ายไฟฟ้าอันเนื่องมาจากเหตุไฟฟ้าดับ หรือโหลดเปลี่ยนอย่างกระทันหันได้ จึงสร้างวิธีการตัดสินใจแบบทันกาลที่ยังสามารถได้เส้นทางการจ่ายไฟฟ้าดีที่สุดได้ ผลจากการพัฒนาทำให้สามารถได้วิธีการกำหนดเส้นทางจ่ายไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วสามารถตอบสนองได้ภายในเวลาที่สั้นมากเมื่อเทียบกับวิธีการแบบเมต้าฮิวริสติกส์อื่นๆ
  • เวอร์ชวลสตอเรจน์แบบกระจายบนระบบคลาวด์สำหรับการจัดเก็บข้อมูลแบบมั่นคง
    Distributed Virtual Storage on Cloud Environment for Securely Data Saving

    พัฒนาและสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนด์ โดยมีการแยกข้อมูลจัดเก็บเป็นหลายๆส่วนบนระบบคลาวด์ ซึ่งไม่มั่นใจในความปลอดภัย แต่ได้ป้องกันการนำข้อมูลไปใช้งานเพราะข้อมูลที่จัดเก็บเป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อมูลทั้งหมด นอกจากนี้ยังออกแบบให้สามารถกู้คืนข้อมูลได้ทั้งหมดหากข้อมูลบางส่วนสูญหายหรือไม่สามารถเข้าถึงได้
  • เทคนิคแบบใหม่สำหรับกลไกการควบคุมการไหลข้อมูลของการเชื่อมต่อทางอากาศของโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 6
    New Techniques for Air Interface Call Admission Control of 6G Mobile Phone  

    โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 6 มีการใช้งานหลายช่องสัญญาณ แต่ละช่องสัญญาณมีแบนด์วิดธ์ที่กว้างมาก การพัฒนาการควบคุมการรับส่งและไหลของข้อมูลบนช่องสัญญาณดังกล่าวจึงเป็นความท้าทายอย่างมากที่จะทำให้มีการรับส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้งานช่องสัญญาณต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ทำให้การรับส่งข้อมูลเป็นไปด้วยความต่อเนื่องและมีความเร็วสูงสุด
  • การพัฒนากลไกที่เหมาะสมสำหรับทะเลสาบข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์สตรีมข้อมูลที่มีรูปแบบต่างกัน
    An Appropiate  Mechanism Development for Data Lake to Analyse Differentiated Streaming Data

    การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ปัจจุบันมีการใช้งานทะเลสาบข้อมูลเข้ามาช่วย ทำให้สามารถวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามวิธีการปัจจุบันยังมีอุปสรรคในการแปลความหมาย แปลง และนำเข้าข้อมูล หรือ ETL และมีปัญหามากขึ้นเมื่อข้อมูลมีรูปแบบที่แตกต่างกันอย่างมาก การวิจัยนี้จึงเน้นพัฒนากลไกที่เหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
  • การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์เพื่อการบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน
    AI Development for Preventive Maintainance

    เครื่องจักรที่ทำงานในโรงงานต่างๆ จะมีอายุการใช้งานต้องบำรุงรักษาตามรอบเวลา อย่างไรก็ตามการบำรุงรักษาบางครั้งก็สิ้นเปลืองเพราะพบว่าเครื่องจักรยังคงใช้งานได้ดี หรือในทางกลับกันเครื่องจักรอาจมีการเสียหายก่อนถึงเวลาที่ต้องซ่อมบำรุง งานวิจัยนี้จึงพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่จะบำรุงรักษาหรือไม่ โดยบูรณาการข้อมูลจากการผลิต ผลผลิตที่ได้ อัตราการผลิต รวมทั้งจากเซนเซอร์ต่างๆช่วยในการวิเคราะห์ ร่วมกับการใช้งานระบบ Machine Learnning และ Deep Learning 

หมายเหตุ
     การวิจัยต่างๆ จะพบว่าเกี่ยวข้องกับปรัชญาและกลุ่มวิชาเลือกของสาขาได้แก่ กลุ่ม Big Data and AI กลุ่ม Computer Networks and Mobile กลุ่ม Cyber Security และกลุ่ม Cloud Computing ซึ่งสาขามีอาจารย์ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความสามารถในด้านดังกล่าว สามารถให้คำปรึกษาให้แนวทางการวิจัยที่ถูกต้องได้อย่างดี