ทรัพยากรบุคคลคุณภาพถือเป็นกลไกสำคัญสู่การขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในภาคอุตสาหกรรมและบริการของประเทศไทยตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีที่พัฒนาและเปลี่ยนถ่ายอย่างรวดเร็วทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วน ทั้งเรื่องการปรับปรุงระบบการบริหารงาน กระบวนการการผลิต แต่ทั้งนี้ในการปรับปรุงจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความพร้อมทั้งเรื่องแนวคิดและทักษะ โดยเฉพาะทักษะด้านความรู้และเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำงาน หนึ่งในเทคโนโลยีที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในอนาคตคือ Internet of Things: IoT ที่จะช่วยยกระดับกระบวนการในการตรวจจับสภาพแวดล้อม ประมวลผล สั่งการ แจ้งเตือน ไปยังปลายทางอย่างอัตโนมัติ โดยเทคโนโลยีนี้ได้ถูกปรับใช้อย่างกว้างขวางในทุกอุตสาหกรรมทั้งการเกษตร การศึกษา การผลิต การขนส่ง การสาธารณสุข เป็นต้น
Internet of Things (IoT) คือ การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องป้อนข้อมูล การเชื่อมโยงนี้ง่ายจนทำให้เราสามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ไปจนถึงการเชื่อมโยงการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ากับการใช้งานอื่นๆ จนเกิดเป็นบรรดา Smart ต่างๆ ได้แก่ Smart Device, Smart Grid, Smart Home, Smart Network, Smart Intelligent Transportation
2.1. พัฒนาทักษะด้าน Internet of Things: IoT ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หรือนักศึกษาที่ใกล้สำเร็จการศึกษา หรือนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้วไม่เกิน 2 ปี และยังไม่มีงานทำ
2.2. เพิ่มโอกาสในการได้งานทำของผู้ที่ผ่านการอบรม
2.3. สร้างระบบนิเวศน์ในการพัฒนาด้าน IoTs ระหว่างสถานศึกษา ผู้ประกอบการและหน่วยงานสนับสนุน
3.1 นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หรือนักศึกษาที่ใกล้จบการศึกษา
3.2 นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้วไม่เกิน 2 ปีและยังไม่มีงานทำ
3.2 บุคคลทั่วไปที่ทำงานด้านเทคโนโลยี และบริหารจัดการ
สามารถสมัครผ่านช่องทางออนไลน์ วันนี้ ถึง - 29 พ.ค. 65 คลิก https://bit.ly/3wg9jCj
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 085-020-0934 (อาจารย์กันยารัตน์)
วันที่ | รายละเอียด |
1 มิ.ย. 65 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบคัดเลือก |
4 มิ.ย. 65 | สอบคัดเลือกผ่านระบบออนไลน์ |
5 มิ.ย. 65 | ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือก (260 คน) |
8 มิ.ย. 65 | ยืนยันการลงทะเบียน |
11-12 มิ.ย. 65 | Foundation of IoT (Online) (260 คน) |
ก.ค. 65 | Essential IoT (Offline) (200 คน) |
ส.ค. 65 | Specialized IoT (Offline) (50 คน) |
กิจกรรม | หัวข้อในการอบรม | รายละเอีย | ชั่วโมง |
1. Foundation of IoT (Online วันเสาร์ - อาทิตย์) | 1. C Programming |
- แนะนำการพัฒนาโปรแกรม - การประกาศตัวแปร ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ - คำสั่งแบบมีเงื่อนไข คำสั่งแบบวนซ้ำ - ฟังก์ชัน ขอบเขตของตัวแปร - อาร์เรย์ สตริง |
9 |
2. Introduction to Microcontroller | - การต่อวงจรเบื้องต้น - การเขียนโปรแกรมควบคุมโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ เป็น Arduino Simulator |
3 | |
2. Essential IoT (Offline) | 1. Essential IoT (Beginner) | - Introduction to IoT, AI and Robotics Technology - Basic Control for logic programming - Quick AI, IoTs solution using Halo code (IoTs)+mBlock5 AI Package (AI) |
6 |
2. Essential IoT (Beginner) | - Microcontroller ESP32 - Sensors, Electronics and Breadboard - Digital, Analog reading/writing - Serial monitoring - Blynk mobile design - Blynk and ESP32 programming |
6 | |
3. Specialized IoT (Offline) | 1. Low level: Sensor Node and Gateway | - การพัฒนา Sensor Node ทั้งการอ่านค่าจากดิจิทอลและอนาลอก - การส่งค่าแบบไร้สายจาก Sensor Node ไปยัง Gateway |
6 |
2. Middle level: Data and Cloud Management | - การกำหนดคุณลักษณะของ IoT Cloud Server - การส่งค่าจาก Gateway ไปยัง Cloud - การใช้ MQTT protocol |
ุ 6 | |
3. High level: Dashboard on Web and Mobile | - การพัฒนา Dashboard บน Web และ Mobile จากข้อมูลบน Server - การควบคุมอุปกรณ์จาก GUI ทางไกล |
6 | |
4. IoT Solution: Design to Deployment | - การวิเคราะห์ปัญหา - การออกแบบระบบ - การพัฒนาระบบ - การติดตั้งใช้งาน |
6 | |
4. Workforce matching and recommendation |
เป็นการนำเสนอข้อมูลนักศึกษาที่เข้าร่วมการอบรม ให้กับบริษัทเพื่อให้เกิดการจับคู่ในการทำกิจกรรมร่วมกันต่อไป เช่น การฝึกงาน หรือ การทำงาน |