โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก (แบบทำวิทยานิพนธ์) แบบ ก.2 ประกอบด้วย | ||
วิชาภาษาอังกฤษ (เฉพาะผู้ไม่มีผลทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ) | - | หน่วยกิต |
วิชาบังคับ | 24 | หน่วยกิต |
วิทยานิพนธ์ | 12 | หน่วยกิต |
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร | 36 | หน่วยกิต |
แผน ข (แบบทำสารนิพนธ์) ประกอบด้วย | ||
วิชาภาษาอังกฤษ (เฉพาะผู้ไม่มีผลทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ) | - | หน่วยกิต |
วิชาบังคับ | 24 | หน่วยกิต |
วิชาเลือก | 6 | หน่วยกิต |
สารนิพนธ์ | 6 | หน่วยกิต |
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร | 36 | หน่วยกิต |
แผน ก (แบบทำวิทยานิพนธ์) แบบ ก.2
ปีที่ 1 | |||||
ภาคเรียนที่ 1 (6 หน่วยกิต) | ภาคเรียนที่ 2 (9 หน่วยกิต) | ||||
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
BD 506 | คณิตศาสตร์ข้อมูลขนาดใหญ่ ** | - | BD 523 | การสำรวจและจัดเตรียมสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล | 3 |
BD 507 | การเขียนโปรแกรมเบื้องต้นสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล ** | - | BD 524 | การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ขั้นสูง | 3 |
BD 508 | ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ** | - | BD 525 | การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆและคอนเทนเนอร์ | 3 |
BD 521 | การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ | 3 | |||
BD 522 | การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่และการออกแบบระบบ | 3 | |||
ภาคฤดูร้อน (6 หน่วยกิต) | |||||
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต | |||
BD 505 | ระเบียบวิธีวิจัย ** | - | |||
BD 526 | อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งและการวิเคราะห์ข้อมูล ณ ปัจจุบัน | 3 | |||
BD 527 | ธุรกิจอัจฉริยะและผลิตภัณฑ์ข้อมูล | 3 | |||
** ไม่นับหน่วยกิตและให้ผลการเรียนเป็น S หรือ U | |||||
ปีที่ 2 | |||||
ภาคเรียนที่ 1 (6 หน่วยกิต) | ภาคเรียนที่ 2 (6 หน่วยกิต) | ||||
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
BD 528 | วิศวกรรมซอฟต์แวร์สำหรับระบบเปิดใช้งานปัญญาประดิษฐ์ | 3 | BD 710 | วิทยานิพนธ์ | 6 |
BD 710 | วิทยานิพนธ์ | 3 | |||
ภาคฤดูร้อน (3 หน่วยกิต) | |||||
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต | |||
BD 710 | วิทยานิพนธ์ | 3 |
แผน ข (แบบทำสารนิพนธ์)
ปีที่ 1 | |||||
ภาคเรียนที่ 1 (6 หน่วยกิต) | ภาคเรียนที่ 2 (9 หน่วยกิต) | ||||
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
BD 506 | คณิตศาสตร์ข้อมูลขนาดใหญ่ ** | - | BD 523 | การสำรวจและจัดเตรียมสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล | 3 |
BD 507 | การเขียนโปรแกรมเบื้องต้นสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล ** | - | BD 524 | การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ขั้นสูง | 3 |
BD 508 | ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ** | - | BD 525 | การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆและคอนเทนเนอร์ | 3 |
BD 521 | การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ | 3 | |||
BD 522 | การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่และการออกแบบระบบ | 3 | |||
ภาคฤดูร้อน (6 หน่วยกิต) | |||||
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต | |||
BD 505 | ระเบียบวิธีวิจัย ** | - | |||
BD 526 | อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งและการวิเคราะห์ข้อมูล ณ ปัจจุบัน | 3 | |||
BD 527 | ธุรกิจอัจฉริยะและผลิตภัณฑ์ข้อมูล | 3 | |||
** ไม่นับหน่วยกิตและให้ผลการเรียนเป็น S หรือ U | |||||
ปีที่ 2 | |||||
ภาคเรียนที่ 1 (6 หน่วยกิต) | ภาคเรียนที่ 2 (6 หน่วยกิต) | ||||
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
BD 528 | วิศวกรรมซอฟต์แวร์สำหรับระบบเปิดใช้งานปัญญาประดิษฐ์ | 3 | BD 6xx | วิชาเลือก | 3 |
BD 6xx | วิชาเลือก | 3 | BD 703 | สารนิพนธ์ | 3 |
ภาคฤดูร้อน (3 หน่วยกิต) | |||||
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต | |||
BD 703 | สารนิพนธ์ | 3 |
วิชาปรับพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิตและให้ผลการเรียนเป็น S หรือ U)
- BD 505 ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)
ขั้นตอนและวิธีการทำวิจัย การสืบค้นข้อมูลและสำรวจงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะด้านข้อมูลขนาดใหญ่ การประมวลผลข้อมูลและการเรียบเรียงข้อมูลที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน การตระหนักถึงความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา การวิจัยและผลจากการวิจัย การหาแนวทางปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพของงานวิจัยที่มีอยู่แล้ว แนวทางการประยุกต์ความรู้ต่างๆ การเขียนข้อเสนองานวิจัยและการนำเสนอด้วยปากเปล่า การทดสอบสมมติฐาน การติดตามความก้าวหน้าในการทำวิจัยและการตรวจสอบความถูกต้อง การเขียนรายงานวิจัยและการนำเสนอด้วยปากเปล่า - BD 506 คณิตศาสตร์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Mathematics of Big Data)
การวิเคราะห์เชิงตรรกะ ทฤษฎีกราฟ ทฤษฎีจำนวน ความน่าจะเป็น ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ กลุ่มปัญหาเอ็นพี พีชคณิตเชิงเส้น อัลกอริธึมและการหาคำตอบที่เหมาะสม - BD 507 การเขียนโปรแกรมเบื้องต้นสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล (Introduction to Programming for Data Analytics and Database Management)
หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การประยุกต์ใช้คำสั่งสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล การใช้งานคำสั่งสำหรับการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ การใช้งานคำสั่งสำหรับบริหารจัดการระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ สามารถออกแบบและเลือกใช้งานคำสั่งสำหรับงานทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเหมาะสม - BD 508 ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Unix Operating Systems and Computer Networks)
แนวคิดพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ การจัดการไฟล์และไดเรคทอรี่ การจัดการและการกำหนดลำดับกระบวนการ การจัดการรับเข้า/ส่งออก การจัดการหน่วยความจำ ความมั่นของของระบบคอมพิวเตอร์ ชุดโพรโทคอลทีซีพี/ไอพี การออกแบบเลขที่อยู่ไอพี โพรโทคอลการจัดเส้นทาง การเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายด้วยทีซีพี/ไอพี การจัดการเครือข่าย ความมั่นคงของเครือข่าย
วิชาบังคับ
- BD 521 การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics)
การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ประโยชน์ของการวิเคราะห์ การหาความสัมพันธ์ การจัดกลุ่ม การจำแนกประเภทข้อมูลแบบต่างๆ ทฤษฎีของเบย์ การวิเคราะห์ข้อความ การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสายธาร การวิเคราะห์ข้อมูลรูปภาพ หลักการจัดเก็บข้อมูลลงในฮาดูป หรือ ฐานข้อมูลประเภทโนเอสคิวแอล การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ในเชิงธุรกิจและการฝึกปฏิบัติโดยใช้เครื่องมือในกรณีศึกษาต่างๆ - BD 522 การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่และการออกแบบระบบ (Big Data Management and System Design)
เทคโนโลยีฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ สมบัติทางคณิตศาสตร์และการใช้ภาษาเขียนโปรแกรมฐานข้อมูล วิธีการในการออกแบบฐานข้อมูลและการสร้างแบบจำลองความคิด วิธีการในการจัดเก็บข้อมูลสำหรับการใช้ฐานข้อมูล แนวคิดพื้นฐานของการควบคุมภาวะพร้อมกัน และการจัดการธุรกรรมในระบบฐานข้อมูล รวมถึงการออกแบบระบบฐานข้อมูลที่ใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ การฝึกปฏิบัติโดยใช้กรณีศึกษาต่างๆ - BD 523 การสำรวจและจัดเตรียมสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Exploration and Preparation for Analytics)
หลักสถิติสำหรับการสำรวจข้อมูลก่อนการวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างทัศนภาพจากข้อมูลขนาดใหญ่ การแจกแจงข้อมูลสำหรับตัวแปรหลายประเภท เทคนิคการเตรียมข้อมูลสำหรับข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ ข้อมูลที่มีความผิดปกติ ข้อมูลที่มีมิติข้อมูลจำนวนมาก ข้อมูลไม่สมดุล ข้อมูลซับซ้อน ข้อมูลเอกสาร ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลอนุกรมเวลา การคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การฝึกปฏิบัติโดยใช้กรณีศึกษาต่างๆ - BD 524 การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ขั้นสูง (Advanced Big Data Analytics)
แนวคิดและรูปแบบของปัญญาประดิษฐ์ ปัญหาที่มีการกำหนดข้อจำกัด เทคนิควิธีการค้นหาประเภทต่างๆ การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ สถาปัตยกรรมโครงข่ายประสาทเทียมเชิงลึกแบบคอนโวลูชัน ฟังก์ชันการสูญเสีย ฟังก์ชันกระตุ้น การปรับแต่งค่าในโครงข่ายประสาทเทียม การถ่ายโยงการเรียนรู้ โครงข่ายประสาทเทียมแบบป้อนย้อนกลับ ทฤษฎีกราฟ วิธีการหาความสำคัญของแต่ละโหนดในกราฟ (Centrality) วิธีการค้นหากลุ่ม (Community Detection) การศึกษาและวิเคราะห์ปัญญาประดิษฐ์จากงานวิจัยต่างๆ - BD 525 การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆและคอนเทนเนอร์ (Cloud Computing and Container)
แนวคิด คุณลักษณะสําคัญและประเภทของการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ การจัดการกลุ่มเมฆ รูปแบบการให้บริการของกลุ่มเมฆ ความปลอดภัยในกลุ่มเมฆและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยีคอนเทนเนอร์ (เช่น Docker) การจัดการคอนเทนเนอร์ (เช่น Docker Swarm, Kubernetes) การใช้เครื่องมือและซอฟต์แวร์ ที่เกี่ยวข้อง การติดตั้งใช้งาน การฝึกปฏิบัติ - BD 526 อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งและการวิเคราะห์ข้อมูล ณ ปัจจุบัน (Internet of Things and Realtime Data Analytics)
แนวคิดและเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง อุปกรณ์อัจฉริยะ การสื่อสาร (เช่น BLE, WiFi, เครือข่ายไร้เซ็นเซอร์ไร้สาย, LoRa, Zigbee) โพรโทคอล (เช่น HTTP, uPnP, CoAP, MQTT, XMPP) แพลตฟอร์มให้บริการอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง กระแสต่อเนื่องของข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล ฐานข้อมูลสำหรับข้อมูล ณ ปัจจุบัน และกระแสข้อมูล การหลอมและการประมวลผล การวิเคราะห์ข้อมูล ณ ปัจจุบัน ความปลอดภัยในการทำงานร่วมกัน การฝึกปฏิบัติ - BD 527 ธุรกิจอัจฉริยะและผลิตภัณฑ์ข้อมูล (Business Intelligence and Data Products)
แนวคิดทางด้านธุรกิจอัจฉริยะ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและการนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กร การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานและการจัดการกระบวนการธุรกิจอัจฉริยะ องค์ประกอบหลักของระบบซอฟต์แวร์ในระบบธุรกิจอัจฉริยะ หลักการและการออกแบบการแสดงข้อมูลด้วยแผนภาพ การสื่อสารข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์อย่างถูกต้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ การสร้างคุณค่าข้อมูลให้องค์กรและธุรกิจ การออกแบบและการกำหนดรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ข้อมูล รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้อมูล การพัฒนาและการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ข้อมูลในตลาดของเทคโนโลยี - BD 528 วิศวกรรมซอฟต์แวร์สำหรับระบบเปิดใช้งานปัญญาประดิษฐ์ (Software Engineering for AI-Enabled Systems)
แนวคิดและตัวแบบของกระบวนการซอฟต์แวร์ การดึงข้อมูลความต้องการและความเสี่ยง สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ การทดสอบคุณภาพตลอดกระบวนการสร้างโมเดล แนวคิด DevOps จริยธรรมที่เกี่ยวข้อง ระบบแบบกระจาย สถาปัตยกรรม Micro-service แนวคิดการจัดการและการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ การรักษาความปลอดภัย การจัดการโครงการโดยใช้เทคนิคแบบอาไจล์ (Agile) การออกแบบ UX การจัดการเวอร์ชั่นของข้อมูลและโมเดล บูรณาการความรู้รวบยอดผ่านประสบการณ์ทำงานโดยตรงและกรณีศึกษา
วิชาเลือก
- BD 622 อนุกรมเวลาและการพยากรณ์ (Time Series and Forecasting)
แนวความคิดพื้นฐานของการสร้างตัวแบบ การวิเคราะห์การถดถอยของอนุกรมเวลา การพยากรณ์อนุกรมเวลาที่มีส่วนประกอบแนวโน้มและการผันแปรสุ่ม การพยากรณ์อนุกรมเวลาที่มีฤดูกาล การหาโมทีฟ การจำแนกประเภทอนุกรมเวลา การจัดกลุ่มอนุกรมเวลา การหาอนุกรมเวลาสุดโต่ง การสร้างตัวแทนอนุกรมเว - BD 626 การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม (Social Network Analysis)
โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายขนาดใหญ่ รูปแบบและขั้นตอนวิธีการออกแบบที่ทำงานร่วมกับเครือข่ายขนาดใหญ่ สมบัติทางสถิติของเครือข่ายขนาดใหญ่ การจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะที่เป็นเครือข่ายและกราฟ หลักการทำงานของทฤษฎีกราฟ การหาดีกรี การหาโหนดที่สำคัญในเครือข่าย โครงสร้างแบบต่างๆของเครือข่ายทางสังคม การเชื่อมต่อทางสังคมและเศรษฐกิจ การฝึกปฏิบัติโดยใช้เครื่องมือในกรณีศึกษาต่างๆ - BD 627 วิธีการหาค่าที่เหมาะสมและการวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำ (Optimization Algorithms and Prescriptive Analytics)
ลักษณะของตัวแบบการหาค่าที่เหมาะสม รูปแบบของตัวแบบโปรแกรมเชิงเส้นเชิงจำนวนจริงและไม่เชิงเส้น รูปแบบของตัวแบบสโทแคสติก การคาดการณ์และปรับปรุงตัวแบบ กระบวนการทำงานแบบเมตาฮิวริสติกส์ วิธีการวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำตัวเลือกการตัดสินใจ การกำหนดทางเลือกในการตัดสินใจ การจัดเตรียมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำ - BD 628 การเรียนรู้เชิงลึกและการนำไปใช้งานในด้านคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Deep Learning and Its Applications in Computer Vision)
โครงข่ายประสาทเทียมเชิงลึก โครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน ฟังก์ชันการสูญเสีย ฟังก์ชันกระตุ้น การปรับแต่งค่าในโครงข่ายประสาทเทียม เทคนิคการสอนโครงข่ายประสาทเทียม สถาปัตยกรรมของโครงข่ายประสาทเทียม การถ่ายโยงการเรียนรู้ โครงข่ายประสาทเทียมแบบป้อนย้อนกลับ (Recurrent Neural Networks) โครงข่ายประสาทเทียมแบบ AutoEncoders การประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเทียมในการจำแนกประเภทภาพ ตรวจจับวัตถุในภาพ การแบ่งส่วนภาพ การวิเคราะห์ข้อความ กรณีศึกษาของการเรียนรู้เชิงลึก - BD 639 การกำกับข้อมูลและการตรวจสอบความปลอดภัยขององค์กร (Governance and Audit Enterprise Security)
รูปแบบความเสี่ยงทางธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการประมวลผลข้อมูลดิจิทัล การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของการประมวลผลข้อมูล วิธีการป้องกันและลดผลกระทบเชิงลบของการละเมิดความปลอดภัยข้อมูล หลักการของการรักษาความปลอดภัย การบริหารข้อมูลในการลดความเสี่ยง ข้อมูลและเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้เพื่อป้องกันการสูญเสียข้อมูลหรือหยุดชะงักทางธุรกิจ - BD 642 หัวข้อพิเศษด้านการวิเคราะห์และการประยุกต์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Special Topics in Big Data Analytics and Applications)
หัวข้อที่ได้รับการคัดเลือกตามความสำคัญ ด้านการวิเคราะห์และการประยุกต์ โดยพิจารณาจากหัวข้อวิจัยหรือผลงานวิจัยตีพิมพ์ - BD 656 หัวข้อพิเศษด้านการจัดการข้อมูล (Special Topics in Data Management)
หัวข้อที่ได้รับการคัดเลือกตามความสำคัญ ด้านการจัดการข้อมูล โดยพิจารณาจากหัวข้อวิจัยหรือผลงานวิจัยตีพิมพ์ - BD 658 การเรียนรู้ของเครื่องขั้นสูง (Advanced Machine Learning)
ข้อมูลอนุกรมเวลา การเรียนรู้แบบกึ่งมีผู้สอน การจำแนกประเภทข้อมูลแบบหลายลาเบล เทคนิคการหาค่าที่เหมาะสม เทคนิคขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม เทคนิคการเรียนรู้แบบเสริมกำลัง การทดลองการใช้งานและการประเมินผลการปฏิบัติงาน
วิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์
- BD 703 สารนิพนธ์ (Thematic Paper)
ศึกษาค้นคว้าเฉพาะด้านเกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อวิเคราะห์หรือแก้ปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ภายใต้ความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา มีการสอบประมวลความรู้ การนำเสนอหัวข้อศึกษาที่แสดงวัตถุประสงค์ ขั้นตอน และวิธีดำเนินการศึกษา ทำรายงานศึกษาค้นคว้าฉบับสมบูรณ์ในรูปแบบสารนิพนธ์ - BD 710 วิทยานิพนธ์ (Thesis)
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งด้านข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงองค์ความรู้ใหม่ภายใต้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษา มีการนำเสนอหัวข้อวิจัยที่แสดงวัตถุประสงค์ ขั้นตอน และวิธีดำเนินการวิจัย รายงานความก้าวหน้า และสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และเขียนเป็นรายงานในรูปวิทยานิพนธ์